การขนส่งสินค้าทางเรือ จัดเป็นอีกส่วนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากการขนส่งทางเรือนั้น สามารถขนสินค้าได้คราวละมากๆ รวมถึงค่าระวางมีราคาต่ำหากเทียบกับการขนส่งทางอื่น จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายๆเจ้าช่วยประหยัดต้นทุนจากการขนส่งสินค้าได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้การขนส่งสินค้าทางทะเลทั้งขาเข้าและขาออกในประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งหลาย ล้วนเลือกใช้การขนส่งสินค้าจากทางเรือเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะทั้งขาเข้าหรือขาออกก็ตาม สรุปได้ว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นอีกปัจจัยซึ่งส่งอิทธิพลอย่างรุนแรงต่อการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก
นอกจากนี้ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีลักษณะเป็น RIMLAND หรือเป็นประเทศที่ติดชายฝั่งทะเล ประเทศของเราติดทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยมีชายฝั่งประมาณ 2,400 กิโลเมตร จึงก่อให้เกิดความได้เปรียบจากการใช้ประโยชน์ของการขนส่งระหว่างประเทศทางเรือ ซึ่งในประเทศไทยก็มีท่าเรือขนาดใหญ่สร้างมาเพื่อรองรับการนำเข้าและส่งออกที่สำคัญอยู่ถึง 5 แห่ง คือ กรุงเทพ , แหลมฉบัง , สงขลา , ภูเก็ต , มาบตาพุด ซึ่งจุดส่งออก-นำเข้าทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวไทย เป็นที่น่าเสียดายเพราะไม่ใช่เส้นหลักของไทย แถมประเทศไทยก็ยังไม่มีท่าเรือขนาดใหญ่ทางตะวันตก จะมีก็เพียงแต่ท่าที่ระนอง เท่านั้นแต่ก็เป็นท่าเรือขนาดเล็ก
อย่างไรก็ตามเหตุผลสำคัญของการขนส่งทางเรือที่เห็นเด่นชัด คือ ส่งผลให้เกิดกิจการอย่างต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ , ตัวแทนออกของ , กิจการโลจิสติกส์ , การถือกำเนิดของการขนส่งอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบ เป็นต้น
กิจการอย่างต่อเนื่องนี้ ได้สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างธุรกิจ กับผู้เกี่ยวข้องการขนส่งสินค้าทางทะเล ออกมาเยอะแยะมากมาย ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของเรือ , ผู้เช่าเรือ , ตัวแทนเดินเรือ , ตัวแทนจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ , ผู้ส่ง , ผู้รับตราส่ง , ผู้รับสินค้า เป็นต้น
ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ เป็นผู้รับมอบอํานาจมาจากเจ้าของเรือ โดยได้รับการมอบหมายให้เป็นผู้ดําเนินการแทนเจ้าของเรือ ที่เมืองต้นทางและเมืองปลายทาง ซึ่งตัวแทนนี้มีหน้าที่ตามปกติ คือ จัดหาระวางให้แก่ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก ,ออกใบตราส่งสินค้าให้ผู้ส่งออก , ออกใบปล่อยสินค้าให้ผู้นําเข้า
ส่วนบริษัทจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือ ธุรกรรมอื่น Logistics อื่นๆตามผู้ว่าจ้างกำหนด
รูปแบบการบริการขนส่งทางทะเลมี 2 แบบ ได้แก่
- บริการประจำทาง คือ มีการกำหนดเส้นทาง ตารางเดินเรืออย่างแน่นอน รวมทั้งมีการเก็บค่าระวางอย่างแน่นอน
- บริการไม่ประจำเส้นทาง การให้บริการรูปแบบนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้าง